วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ประวัติ

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับ สายการบินสแกนดิเนเวียน (อังกฤษ: Scandinavian Airlines System; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี และในที่สุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537[6]
สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต

[แก้]ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556 [7]
ลำดับที่รายชื่อผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นสามัญสัดส่วนการถือหุ้น
1กระทรวงการคลัง1,113,931,06151.03%
2กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)169,157,7207.75%
3กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)169,157,7207.75%
4บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด87,907,7784.03%
5กองทุนรวม ออมสิน46,409,8852.13%

[แก้]สำนักงาน

สำนักงานการบินไทยในกรุงเทพมหานครแห่งแรก เป็นห้องแถวสามชั้น เลขที่ 1101 ริมถนนเจริญกรุง[8] อันเป็นศูนย์รวมธุรกิจในยุคนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า ซึ่งส่วนมากเป็นนักธุรกิจและชาวต่างชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 การบินไทยเช่าอาคารเลขที่ 1043 ถนนพหลโยธินบริเวณสนามเป้าเป็นสำนักงาน[9] โดยเมื่อปี พ.ศ. 2522 การบินไทยจัดซื้อที่ดินริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และก่อสร้างอาคารหลังแรกขนาด 5 ชั้น ซึ่งเริ่มใช้ปฏิบัติงานเมื่อปี พ.ศ. 2523[10] หลังจากนั้นจึงมีโครงการสร้างอาคารถาวร จนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2532
เมื่อปี พ.ศ. 2506 การบินไทยเปิดสำนักงานสาขาในต่างประเทศ ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2553 สำนักงานสาขาในต่างประเทศของการบินไทย มีทั้งหมด 76 สาขาใน 38 ประเทศ ครอบคลุมทั้ง 5 ทวีป

[แก้]ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน

  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ)
  • ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
  • ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (จังหวัดระยอง)

[แก้]ภาพลักษณ์ขององค์กร

การบินไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่สายการบินที่มีระเบียบการเปลี่ยนเครื่องแบบในตลอดการเดินทาง โดยพนักงานต้อนรับหญิงประจำเที่ยวบินระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนเครื่องแบบจากชุดสูทสีม่วง (สำหรับแต่งกายนอกห้องโดยสาร) เป็นชุดไทยประเพณี (เห็นได้จากโฆษณาของสายการบิน) ขณะต้อนรับผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องบิน และต้องเปลี่ยนกลับเป็นชุดสูทเมื่อนำผู้โดยสารออกจากเครื่องบิน เว็บไซต์อาสค์เมนจัดอันดับ สุดยอดแอร์โฮสเตทสาวที่ฮอทที่สุด 10 สายการบินทั่วโลก โดยการบินไทยได้อันดับที่ 7 เว็บไซต์อาร์คเมนส์ ให้เหตุผลว่า พนักงานต้อนรับหญิงบนเครื่องบินดูดีในชุดเครื่องแบบโทนสีม่วง-ทอง รูปร่างหน้าตาสวยงาม การบริการระหว่างการเดินทางดี นอกจากนี้ยังยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตรและมารยาทงามอีกด้วย[11]นอกจากนี้ การบินไทยยังถูกจัดให้เป็นสายการบินที่ดีที่สุด ลำดับ 5 ของโลก[12]อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับ[13]ว่าการบินไทยมีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจทางการเมืองโดยข้อเท็จจริงการบินไทยมีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 15 คน[14] ในระยะเวลาตลอดที่ทำการบินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เมื่อเฉลี่ยแล้วกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทยอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปี 6 เดือนเท่านั้น

[แก้]ตราสัญลักษณ์

ภาพดอกบัวซึ่งวอลเตอร์แลนเดอร์ฯ ออกแบบ ต่อมาใช้เป็นสัญลักษณ์แบบที่สองของเดินอากาศไทย
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 การบินไทยเปิดตัวตราสัญลักษณ์แบบแรก เป็นภาพตุ๊กตารำไทยซึ่งออกแบบโดย หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิไชย นักออกแบบที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ซึ่งเป็นผู้ออกเครื่องแบบพนักงานต้อนรับชุดแรกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 การบินไทยจัดจ้างวอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (อังกฤษWalter Landor & Associates) บริษัทโฆษณาระดับโลก ให้ออกแบบตราสัญลักษณ์ใหม่[15]
จากนั้นราวปลายปี พ.ศ. 2517 คณะผู้แทนการบินไทยเดินทางไปพิจารณาเลือกแบบ ซึ่งคณะผู้ออกแบบนำเสนอกว่าสิบภาพ โดยภาพดอกบัวโดดเด่นที่สุด เนื่องจากมีสีสันกลมกลืนสดใส แต่มีผู้แทนคนหนึ่งเห็นว่า การบินไทยใช้ชื่อบริการว่าเอื้องหลวง หากใช้สัญลักษณ์ดอกบัวก็เป็นการขัดกัน จึงเสนอแนะแก่คณะผู้ออกแบบไว้[15] ซึ่งต่อมาในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2520 เดินอากาศไทยนำภาพดอกบัวดังกล่าว มาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ แทนภาพช้างเอราวัณสามเศียรอยู่กลางตราอาร์ม สองข้างซ้ายขวาประกอบด้วยภาพปีกนกซ้อนทับบนปีกเครื่องบิน
โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2518) คณะผู้ออกแบบพยายามดัดแปลงแก้ไขจากแบบที่เลือกไว้แล้ว จึงได้แบบที่คณะผู้แทนการบินไทยเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ จึงนำมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ ซึ่งคณะผู้ออกแบบอธิบายว่าเป็นภาพใบเสมา ซึ่งพบเห็นทั่วไปในประเทศไทย โดยจับวางตะแคงข้าง เพื่อต้องการสื่อถึงความเร็ว เนื่องจากนำมาใช้กับสายการบิน สำหรับสีทองมาจากแสงอร่ามของวัดวาอารามไทย สีม่วงสดมาจากกล้วยไม้ ดอกไม้สัญลักษณ์ของการบินไทย ส่วนสีชมพูมาจากดอกบัว[15]
ทั้งนี้ มักใช้ประกอบกับตัวอักษรชื่อ "ไทย" หรือ "Thai" ตามรูปแบบเดียวกับที่ประกอบอยู่ในตราสัญลักษณ์ใหม่ของเดินอากาศไทย สำหรับตราสัญลักษณ์นี้มักมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า มีความคล้ายคลึงกับลักษณะของดอกรักเสียมากกว่า ผิดแต่เพียงสีที่แท้จริงของดอกรักเป็นขาว โดยตราสัญลักษณ์ดังกล่าวใช้มาถึง 30 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2548การบินไทยจัดจ้าง ห้างหุ้นส่วนอินเตอร์แบรนด์ (อังกฤษInterbrand Partnership) เป็นผู้ออกแบบลวดลายภายนอกตัวเครื่องบิน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงสีสันภายในตราสัญลักษณ์ให้สดใสขึ้นกว่าเดิม และปรับปรุงตัวอักษรชื่อที่ประกอบอยู่กับตราสัญลักษณ์ โดยออกแบบขึ้นใหม่ และใช้อักษรอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด[15]

[แก้]คำขวัญ

คำขวัญภาษาไทยของการบินไทยคือรักคุณเท่าฟ้า ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นชื่อใหม่ของวารสารภายใน ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมคือ ข่าวการบินไทย (เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2519) โดยวลีดังกล่าวมีที่มาจาก วิถีชีวิตของชาวไทย ดังที่พ่อแม่มักตั้งคำถามกับลูกว่า รักพ่อแม่แค่ไหน แล้วลูกก็มักตอบว่า "รักพ่อแม่เท่าฟ้า" ซึ่งสื่อความหมายถึงความรักที่กว้างใหญ่ไพศาลไปสุดขอบฟ้า จึงนำมาใช้เชิงเปรียบเทียบกับบริการของการบินไทย ทั้งนี้ คำขวัญของการบินไทยดังกล่าว เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากผลงานเพลงชื่อเดียวกัน ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว ซึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ส่วนคำขวัญภาษาอังกฤษใช้ว่าSmooth as Silk ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า นุ่มละมุนดุจแพรไหม มีชื่อเสียงมาจากเพลงชื่อเดียวกัน ที่กระจายเสียงภายในเครื่องก่อนเริ่มเที่ยวบิน และที่นำมาใช้ประกอบรายการ การบินไทยไขจักรวาล

[แก้]บริการเกี่ยวกับการบิน

[แก้]ฝูงบิน

ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ฝูงบินของการบินไทยประกอบไปด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้ [16] [17]
เครื่องบินรหัสประจำการสั่งซื้อจำนวนที่นั่งจุดหมายปลายทาง / (หมายเหตุ)
FCCYทั้งหมด
แอร์บัส A300-600AB6
AB7
3
5
00
0
46
28
0201
232
247
260
(AB6) : พนมเปญ, ย่างกุ้ง, เชียงใหม่ , เชียงราย, ขอนแก่น ,ภูเก็ต ,หาดใหญ่ , เชียงใหม่-ภูเก็ต
(AB7) : เชียงใหม่, ภูเก็ต, กัวลาลัมเปอร์
/ (จะทยอยปลดระวางทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2558)
แอร์บัส เอ 330-300A333
A330
A33H
12
8
6
0
0
1
0
0
0
42
36
36
0263
263
263
305
299
299
(A333) : มะนิลา, ฮ่องกง, ไทเป-โซล, ปูซาน, เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง, เซียะเหมิน (3 ก.พ. 56), เฉิงตู, กว่างโจว, สิงคโปร์, โคลัมโบ, ฮานอย, กัวลาลัมเปอร์, มุมไบ, กัลกัตตา, เดนพาซา, ภูเก็ต – ฮ่องกง, ฟูกูโอกะ,จาการ์ตา, โตเกียว (นะริตะ),เชนไน,การาจี-มัสกัต,มัสกัต – การาจี,การาจี,ละฮอร์, ภูเก็ต, หาดใหญ่
(A330): ภูเก็ต, ไทเป, นาโงย่า, ฮ่องกง, ภูเก็ต-ฮ่องกง-ไทเป, ไทเป – ฮ่องกง – ภูเก็ต, เพิร์ธ, ฟูกูโอกะ, ดูไบ, ภูเก็ต – โซล, โอซาก้า,โคลัมโบ, สิงคโปร์, มะนิลา, จาการ์ตา, คุนหมิง, เซียะเหมิน
(A33H) : โตเกียว (นะริตะ), นาโงย่า, ซัปโปะโระ , เชียงใหม่
แอร์บัส เอ 340-500A3451006042113215บาหลี,สิงคโปร์
แอร์บัส เอ 340-600A346608600199267ซูริค, ซิดนีย์, ลอนดอน, สิงคโปร์ , มิลาน
แอร์บัส เอ 350-900012n/a(ส่งมอบระหว่าง พ.ศ. 2559 - 2561 เพื่อทดแทน แอร์บัส เอ 340-500/600.)
แอร์บัส เอ 380-800A3803312600435507สิงคโปร์, ฮ่องกง, แฟรงเฟิร์ต โตเกียว (นะริตะ) (16 ม.ค. 56) , ปารีส (16 ก.พ. 56) / (ส่งมอบทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2556)
โบอิง 737-400B734500120137149พนมเปญ, ปีนัง ,เชียงราย, อุดรธานี, อุบลราชธานี, สมุย, หาดใหญ่ / (จะทยอยปลดระวางทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2558)
โบอิง 747-400B747
B744
B74R
B74N
3
4
6
3
014
10
10
9
50
40
40
40
0325
325
325
325
389
375
375
374
(B747) : โคเปนเฮเกน, โคเปนเฮเกน – ภูเก็ต ,สตอกโฮล์ม, สตอกโฮล์ม – ภูเก็ต, ฮ่องกง
(B744) : ซิดนีย์, โตเกียว (นะริตะ) ,ฮ่องกง, มุมไบ, โอซาก้า, ปักกิ่ง, เชียงใหม่ ,ภูเก็ต
(B74R) : ลอนดอน, แฟรงเฟิร์ต, สิงคโปร์, เชียงใหม่
(B74N) : มิลาน, มิวนิก, โรม, แฟรงเฟิร์ต, โตเกียว (นาริตะ)
/ (กำลังทยอยปลดประจำการ รหัส B744)
โบอิง 777-200B772
B777
4
4
00300279309(B772) : เดนพาซา, เมลเบิร์น, เซียะเหมิน, บังกาลอร์, มะนิลา, กัวลาลัมเปอร์, โซล, กาฏมัณฑุ, มุมไบ, เชียงใหม่, ดูไบ, ภูเก็ต, โฮจิมินต์, สิงคโปร์, โคลัมโบ
(B777) : ฮ่องกง – โซล,โซล – ฮ่องกง
โบอิง 777-200ERB77E600300262292มอสโก, ออสโล , โจฮันเนสเบิร์ก, สิงคโปร์, โอซาก้า, โซล , มาดริด, นาโงย่า
โบอิง 777-300B77R600340330364บริสเบน, โซล – ลอสแอนเจลิส, โซล, ดูไบ, มอสโก, เมลเบิร์น, สิงคโปร์, โตเกียว (นะริตะ), โตเกียว (ฮะเนดะ),โอซาก้า, นาโงย่า,
กัวลาลัมเปอร์, เดลลี, ภูเก็ต
โบอิง 777-300ERB77J
B77B
5
2
0
12
8
0
30
42
0274
306
312
348
(B77J) : ปารีส, แฟรงเฟิร์ต, โตเกียว (นะริตะ), โตเกียว (ฮะเนะดะ), บรัสเซลส์
(B77B) : โตเกียว (นะริตะ), เชียงใหม่ ,โซล – ลอสแอนเจลิส
โบอิง 787-806n/a(เช่า, ส่งมอบลำแรกภายในปี พ.ศ. 2557) [18]
โบอิง 787-902n/a(เช่า, ส่งมอบลำแรกภายในปี พ.ศ. 2557)[18]
ไทยคาร์โก้
โบอิง 747-400BCF20112,760 กิโลกรัม(เครื่องบินทั้งสองลำถูกดัดแปลงมาจากเครื่องบินโดยสารเดิมของการบินไทย)
รวม9138

[แก้]การจัดหา/ปลดระวาง

ลายเครื่องบินการบินไทยแบบเก่า(ลำขวา)และลายแบบใหม่(ลำซ้าย)ของโบอิ้ง 777-200
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 อายุเฉลี่ยของฝูงบินของการบินไทยอยู่ที่ 11.0 ปี[19]
การบินไทยสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380จำนวน 6 ลำ ซึ่งจะส่งมอบตั้งแต่ พ.ศ. 2555-2556 เพื่อใช้ในเที่ยวบินไปแฟรงค์เฟิร์ท ปารีส และลอนดอน ซึ่งยังไม่สามารถเพิ่มความถี่ได้
การบินไทยมีแผนจะปลดระวางเครื่องบิน 25 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 15 ลำใน ปี พ.ศ. 2553-2557 โดยแบ่งเป็น การเช่าเครื่องบินเพื่อบินระหว่างทวีป 8 ลำ จำนวน350ที่นั่ง และ จัดซื้อเครื่องบินเพื่อบินในภูมิภาค 7 ลำ จำนวน 300 ที่นั่ง
แผนระยะที่ 1 พ.ศ. 2553-2560 การบินไทยมีแผนที่จะปลดระวางเครื่องบิน 50 ลำ และจัดหาเครื่องบินใหม่ 45 ลำ
แบ่งเป็นปลดระวาง Boeing747-400 6 ลำ และปรับปรุงที่นั่งในชั้นทุกชั้น จำนวน 12 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2555-2556 ปลดระวาง A300-600 13 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 การบินไทยทดแทนด้วย A330-300 8 ลำ การส่งมอบเริ่มใน พ.ศ. 2554 ปลดระวาง Boeing 737-400 9 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2557-2558 ปลดระวาง ATR72-201 2 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2560 (ปัจจุบันให้นกแอร์เช่า)ปลดระวาง A340-500 4 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2555-2556 ปลดระวาง A340-600 6 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 ปลดระวาง B777-300ER 5 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2558 เนื่องจากหมดสัญญาเช่าปลดระวาง B777-200 2 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2560 ปลดระวาง A330-300 2 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2560 ปลดระวาง ATR72-201 2 ลำ จะปลดระวางระหว่าง พ.ศ. 2560
จัดหาเข้าประจำการ A330-300 8 ลำ มาครบแล้วในปี พ.ศ. 2554 A320-200 เช่าซื้อ 6 ลำ พ.ศ. 2555-2556 ซื้อ 5 ลำ พ.ศ. 2557-2558 B777-300ER ซื้อ 6 ลำ พ.ศ. 2557-2558 A350-900 ซื้อ 4 ลำ พ.ศ. 2559-2560 เช่าซื้อ 8 ลำโดยแบ่งเป็น 6 ลำ เช่าซื้อจาก (ALAFCO) ส่งมอบ พ.ศ. 2559 และ 2 ลำ เช่าซื้อจาก (CIT) ส่งมอบ พ.ศ. 2560 B787-800 เช่าซื้อ 6 ลำ พ.ศ. 2557-2558 B787-900 เช่าซื้อฺ 2 ลำ พ.ศ. 2560 [20]
แอร์บัส เอ 330-300 ของการบินไทย
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแหล่งเงินทุนในการซื้อเครื่องบินแอร์บัส 330 รุ่น A330-343X ของการบินไทย จากเดิมที่เห็นชอบให้จัดหาโดยวิธีการเช่าซื้อ โดยใช้เครื่องบินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการจัดหาเงินกู้ เปลี่ยนเป็นการซื้อเครื่องบินด้วยเงินทุนในรูปแบบอื่นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้การบินไทยได้พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนในรูปแบบอื่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะตลาดเงินและตลาดทุนเพื่อความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการดำเนินการมากยิ่งขึ้น[21]

[แก้]จุดหมายปลายทาง

ปัจจุบัน (ตุลาคม พ.ศ. 2555) การบินไทยได้ให้บริการการบินไปยังท่าอากาศยานทั้งหมด 67 แห่ง ใน 34 ประเทศ (รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและประเทศไทย) ครอบคลุม 5 ทวีปทั่วโลก

[แก้]บริการในห้องโดยสาร

การบินไทยแบ่งการให้บริการภายในห้องโดยสาร ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่

[แก้]รอยัลเฟิร์สคลาส(ชั้นหนึ่ง)

ที่นั่งชั้นหนึ่งให้บริการเครื่องบินแอร์บัส A340-600 จำนวน 6 ลำให้บริการเที่ยวบินระหว่างเส้นทางกรุงเทพ – ซูริค ,กรุงเทพ – ซิดนีย์ ,กรุงเทพ – มิลาน ,กรุงเทพ – สิงคโปร์ เครื่องบินโบอิ้ง B747-400 8 ลำในรหัสB74R และ B74Nโดยจะให้บริการระหว่างกรุงเทพ – ลอนดอน กรุงเทพ – แฟรงเฟิร์ต กรุงเทพ – มิวนิค กรุงเทพ – โรม กรุงเทพ – โตเกียว นะริตะ กรุงเทพ – ฮ่องกง ,กรุงเทพ – มิลาน และเครื่องบินโบอิ้ง B777-300ERที่เช่ามาจาก Jet Airways ให้บริการในเส้นทาง โตเกียว นะริตะ และ ปารีส
ที่นั่งชั้นหนึ่งแบบห้องชุดบนเครื่องบินโบอิง 777-300ER
ที่นั่งใหม่นี้สามารถปรับเอนนอนได้ 180 องศา ประกอบไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเช่น ระบบนวดผ่อนคลาย, ไฟอ่านหนังสือ, ปลั๊กไฟส่วนตัว (VAC) 115 โวลต์ ,จอภาพส่วนตัวขนาด 10.4 นิ้วพร้อมระบบความบันเทิงส่วนตัวผู้โดยสาร ในชั้นรอยัลเฟิร์สคลาสนี้สามารถเลือกเมนูอาหาร จากเมนูต่างๆ ทั้ง 22 รายการก่อนขึ้นเครื่องได้อีกด้วย[22]
ที่นั่งชั้นหนึ่งของการบินไทยบนเครื่องบินโบอิ้ง 747-400
อนึ่ง การบินไทยได้จัดเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 เป็นสี่แบบโดยเรียกว่า B747 B744 B74R B74Nโดยใน B747ออกแบบภายในเป็นแบบเก่า B747 มี 4 ลำ ใช้บินในเส้นทางกรุงเทพ – โคเปนเฮเกน กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม กรุงเทพ –ฮ่องกง โคเปนฮาเกน – ภูเก็ตสตอกโฮล์ม – ภูเก็ต โดยจะไม่ขายที่นั่งชั้นหนึ่งในเครื่องบินแบบ B747 เฉพาะเส้นทาง โคเปนฮาเกน และสตอกโฮล์ม แต่ขายในราคาชั้นธุรกิจแทน
สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ที่นั่งชั้นหนึ่งจะขายในราคาแบบที่นั่งชั้นธุรกิจสามารถเลือกนั่งได้ด้วยโดยจะบริการเฉพาะเส้นทาง กรุงเทพ – เชียงใหม่ กรุงเทพ – ภูเก็ต เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นB747 B744 B74R B74N ก็ตามรวมถึง แอร์บัส A340-600ปัจจุบันบริการแบบ B744 B74R B74N เท่านั้น บิน กรุงเทพ – เชียงใหม่ 2 เที่ยวต่อวันตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนกรุงเทพ –ภูเก็ต จะบิน 4 เที่ยวต่อวันตอนเช้าและตอนเย็นเช่นกัน
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 การบินไทยจะรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A380-800 ลำแรก โดยที่นั่งโดยสารชั้นหนึ่งจำนวน 12 ที่นั่ง ถูกออกแบบให้เป็นห้องพักผ่อนส่วนตัว มีความห่างระหว่างแถว 83 นิ้ว ความกว้างที่นั่ง 26.5 นิ้ว สามารถปรับเอนนอนเป็นแนวราบได้ถึง 180 องศาและติดตั้งอุปกรณ์สาระบันเทิงอย่างครบครันด้วยจอภาพ AVOD ระบบสัมผัสขนาด 23 นิ้ว ติดตั้งระบบ Wi-Fi อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารได้ทุกชนิด พร้อมปลั๊กไฟส่วนตัวสำหรับคอมพิวเตอร์วางตักไว้บริการผู้โดยสาร นอกจากนี้การบินไทยยังติดตั้งห้องน้ำที่มีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของห้องน้ำปกติ โดยออกแบบให้มีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับให้ผู้โดยสารชั้นหนึ่งแต่งตัวได้อย่างสะดวกสบายด้วยเช่นกัน[23]

[แก้]รอยัลซิลค์ (ชั้นธุรกิจ)

เปิดตัวครั้งแรกพร้อมกับแอร์บัส A340-500 มาในลักษณะแบบเปลือกหอย มีการติดตั้งชั้นธุรกิจนี้ใน B747-400 ,777-300 ,777-200 ,777-200ER ,A340-500 และ แอร์บัส A340-600 ความห่างระหว่างที่นั้ง 60-62 นิ้ว และความกว้างของที่นั่ง 20-21.5 นิ้ว สามารถปรับเอนได้สูงสุดถึง 170 องศา ในทุกๆที่นั่งจะมีระบบนวด.โทรทัศน์ส่วนตัวระบบสัมผัส 10.4 และ 15 นิ้ว(ในเก้าอี้แบบใหม่) ส่วนเครื่องบิน B777-300ERที่เช่ามาจาก Jet Airways ที่นั่งจะเป็นแบบก้างปลา สามารถปรับเอนนอนเป็นแนวราบได้ถึง 180 องศา
ชั้นธุรกิจแบบเก่ายังมีในเครื่องบินแบบ B737-400 5 ลำ (ทั้งหมด) A330-300 12 ลำ A300-600 (ทั้งหมด) B747-400 4 ลำจาก 18 ลำ
อนึ่ง A330-300 รุ่นใหม่จะมีการปรับเปลี่ยนชั้นธุรกิจเป็นแบบใหม่เรียกว่า A330 ในเครื่องบินแบบ A330-343Eตอนนี้มีบริการ 13 ลำ จากทั้งหมด 15 ลำ โดยรอรับอีกสองรับในปี พ.ศ. 2556 2 ลำ บริการใน 19 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพ – ภูเก็ต,กรุงเทพ – ไทเป,กรุงเทพ – นะโงะยะ,กรุงเทพ – ฮ่องกง, ภูเก็ต – ฮ่องกง – ไทเป, ไทเป – ฮ่องกง – ภูเก็ต,กรุงเทพ – เพิร์ธ,กรุงเทพ – ฟุกุโอะกะ,กรุงเทพ – ดูไบ, ภูเก็ต – โซล,กรุงเทพ – โอซาก้า,กรุงเทพ – โคลัมโบ,กรุงเทพ – สิงคโปร์,กรุงเทพ – มะนิลา,กรุงเทพ – จาการ์ตา,กรุงเทพ – คุนหมิง,กรุงเทพ – เซียะเหมิน,กรุงเทพ – โตเกียว นะริตะ,กรุงเทพ – ซัปโปะโระ
ชั้นธุรกิจแบบใหม่บนเครื่องบินโบอิง 777-300ER
อนึ่ง การบินไทยได้จัดเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 เป็นสี่แบบโดยเรียกว่า B747 B744 B74R B74Nโดยใน B747 ออกแบบภายในเป็นแบบเก่า B747 มี 4 ลำ ใช้บินในเส้นทางกรุงเทพ – โคเปนฮาเกน กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม กรุงเทพ – ฮ่องกง กรุงเทพ – มุมไบ กรุงเทพ – เชียงใหม่ กรุงเทพ – ภูเก็ต(ทั้งขาไปและขากลับ) โคเปนฮาเกน – ภูเก็ต สตอกโฮล์ม – ภูเก็ต(ขากลับอย่างเดียว) จะขายตั๋วในราคาชั้นประหยัดพรีเมี่ยมในเส้นทางกรุงเทพ – [[โคเปนฮาเกน] กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม(ทั้งขาไปและขากลับ)และเส้นทางโคเปนฮาเกน – ภูเก็ต สตอกโฮล์ม – ภูเก็ต(ขากลับอย่างเดียว)เพราะเป็นที่นั่งชั้นธุรกิจแบบเก่า ยกเว้นเส้นทาง กรุงเทพ – ฮ่องกง กรุงเทพ – มุมไบ และเส้นทางภายในประเทศ ขายในราคาชั้นธุรกิจ

[แก้]ชั้นประหยัดพรีเมียม

การบินไทยบริการชั้นประหยัดพรีเมียมบนเครื่องบินB747-400เนื่องจากชั้นธุรกิจของเครื่องบินรุ่นนี้บางลำไม่ได้ติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) หน้าจอระบบสัมผัส 9 นิ้ว ค่าโดยสารในชั้นประหยัดแบบพรีเมี่ยมนี้ จะมีราคาสูงกว่าชั้นประหยัดทั่วไป โดยที่นั่งในชั้นประหยัดพรีเมี่ยม จะถูกติดตั้งแบบ 2-3-2 ซึ่งต่างจากชั้นประหยัดทั่วไปที่จะถูกจัดวางที่นั่งแบบ 2-4-2. ที่นั่งในชั้นประหยัดพรีเมี่ยมนี้จะมีช่องว่างระหว่างที่นั่ง 42 นิ้วและปรับเอนได้ 135 องศาพร้อมที่พักเท้า. ผู้โดยสารในชั้นประหยัดพรีเมี่ยมสามารถเลือกเมนูอาหารได้ ทุกที่นั่งจะประกอบไปด้วยจอภาพส่วนตัว ขนาด 9 นิ้ว พร้อมระบบ AVOD และ IFE
เส้นทางบินระยะไกลที่ยังใช้ B747-400 version B747 จำนวน 4 ลำบินอยู่ 4 เส้นทางคือ กรุงเทพ – สตอกโฮล์ม กรุงเทพ – โคเปนเฮเกน(ทั้งขาไปและขากลับ)สตอกโฮล์ม – ภูเก็ต โคเปนเฮเกน – ภูเก็ต(ขากลับอย่างเดียว) ไม่มีชั้นประหยัดพรีเมียม แต่ขายที่นั่งชั้นธุรกิจแบบเก่าในราคาชั้นประหยัดพรีเมียมยกเว้นเส้นทางกรุงเทพ – ฮ่องกงกรุงเทพ – มุมไบ ขายที่นั่งชั้นธุรกิจแบบเก่าในราคาชั้นธุรกิจ
อาหารในชั้นประหยัดของการบินไทย

[แก้]ชั้นประหยัด

ขนาดที่นั่งในชั้นประหยัดของการบินไทย มีขนาดใหญ่ถึง 36 นิ้ว ต่างจากโดยทั่วไปที่มีขนาด 34 นิ้ว โดยแถวที่นั่งจะถูกจัดวางในรูปแบบดังต่อไปนี้
  • แบบ 3-4-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง B747-400 และแอร์บัส A380 (ชั้นล่าง)
  • แบบ 3-3-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง B777-200,B777-200ER,B777-300,และ B777-200ER
  • แบบ 2-4-2 ในเครื่องบินแอร์บัส A380 (ชั้นบน), A340-600A330-300 และ A300-600
  • แบบ 3-3 ในเครื่องบินโบอิ้ง 737-400
ทุกที่นั่งในชั้นประหยัดบนเครื่องบินแอร์บัส A340-500, แอร์บัส A340-600, โบอิ้ง B777-200ER และโบอิ้ง B777-300 จะถูกติดตั้งระบบมัลติมีเดีย (AVOD) หน้าจอระบบสัมผัส 9 นิ้ว เครื่องบินรุ่นใหม่ของการบินไทยอย่าง แอร์บัส A330-300 จะถูกติดตั้งระบบ AVOD ในชั้นประหยัด ทั้ง 15 ลำ ขณะนี้มีให้บริการทั้งหมด 13 ลำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น