วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ไทยปี 2555


 กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ไทยปี 2555

1. ทุกอย่างจะมุ่งเข้าสู่โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Everything goto Social Network) 
คนไทยใช้เฟซบุ๊คมากกว่า 13 ล้านคน หรือมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และมากกว่าครึ่งเปิดเฟซบุ๊คทุกวัน หรือคนไทยดูมิวสิควีดิโอเพลง "กรุณาฟังให้จบ" ของแช่ม แช่มรัมย์ เกือบ 23 ล้านครั้ง สูงที่สุดในประเทศไทยของวีดิโอในยูทูบ ทำให้เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมคนไทยกำลังมุ่งเข้าสู่โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเห็นได้ชัด และโซเชียลเน็ตเวิร์คจะเริ่มกลายมาเป็น "โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสาร (Infrastructure)" ของคนไทย เหมือนกับโทรศัพท์, ทีวี หรือหนังสือพิมพ์ 
 
คนไทยจะเริ่มใช้ช่องทางนี้เพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ และเริ่มต่อยอดโซเชียลเน็ตเวิร์คไปยังกลยุทธ์ทางธุรกิจรูปแบบต่างๆ เช่น การตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network Marketing), การค้าขายผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Socail Network Commerce), การประชาสัมพันธ์ผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network PR) หรือแม้แต่การรักษาความสัมพันธ์ลูกค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Socail Network CRM) เป็นต้น
 

2. การปรับแต่งโซเชียลมีเดียจะเป็นสิ่งจำเป็น  (SMO - Social Media Optimization) 
เมื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คกลายเป็นช่องทางหลายองค์เริ่มเข้ามาใช้กันมากขึ้นในการสื่อสารกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย การปรับแต่งโซเชียลเน็ตเวิร์คให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่นการวางแผนให้เกิดการแชร์และกระจายข้อมูลออกไปมากที่สุด, การติดตั้งเครื่องมือต่างที่ทำให้ผู้ใช้ร่วมส่วนร่วมมากขึ้น เช่น ปุ่มแชร์, ปุ่มชอบ (Likes), ปุ่มส่งต่อ (Retweet), สร้างลิงค์กลับมาเราให้มากที่สุด ทั้งหมดนี้เพื่อทำให้โซเชียลเน็ตเวิร์คของเราสามารถเข้าถึงคนและกระจายข้อมูลออกไปให้ได้วงกว้างมากที่สุด และเกิดประสิทธิภาพที่สุด
 

3. ผู้มีอิทธิพลออนไลน์จะมีบทบาทในการสร้างกระแส (Online Influencer)
 
เมื่อคนสื่อสารกันในโลกออนไลน์ของโซเชียลเน็ตเวิร์คมากขึ้น คนที่มีคนติดตามมากๆ เช่น เฟซบุ๊คที่มีคนชอบ (like) เยอะๆ หรือ Twitter ที่มีคนตาม (Follower) เยอะๆ หรือคนที่มีอิทธิพลทางความคิดกับคนอื่นในช่องทางออนไลน์ ก็จะเริ่มเข้ามาบทบาทในการสร้างกระแส หรือการทำให้คนอื่นๆ เชื่อและเกิดความคล้อยตามได้ไม่ยาก เพราะการพูดและสื่อสารออกมาของคนที่มีอิทธิพล (Influencer) เหล่านี้ ก็จะไปสร้างและโน้มน้าวให้คนอื่นๆ ที่ติดตามเขาอยู่นั้นเกิดความคล้อยตามในทิศทางเดียวกัน เช่น 
 

4. ตำแหน่ง (Location) จะเข้ามามีบทบาทในการทำการตลาดมากขึ้น
 
เมื่ออุปกรณ์หลายอย่างสามารถระบุตำแหน่งของผู้ใช้ได้ เช่น มือถือ,แทบเล็ต, กล้องถ่ายรูป หรือ รถยนต์ และแอพพลิเคชั่นที่สามารถนำตำแหน่งของคนมาใช้ประยุกต์กับการตลาดได้ไม่อยากเช่น Foursquare, Google Map, เฟซบุ๊ค Place ทำให้ "ตำแหน่งของลูกค้า" เริ่มเข้ามามีบทบาท และจะทำให้การสื่อสารไปหาลูกค้า มีความแม่นยำและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ร้านโดนัทที่สยามสแควร์สามารถรู้ได้ทันทีว่า ใครคือลูกค้าที่เข้าซื้อสินค้าของร้านค้าเขาบ่อยๆ จากประมาณการเช็คอินของลูกค้าผ่านโปรแกรมต่างๆ ทางมือถือ
ที่มาhttp://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pawoot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น